เร่งหาทางออกตู้คอนเทรนเนอร์สินค้าตกค้าง ท่าเรือแหลมฉบัง หลังพบตกค้างนับพันตู้ทำสินค้าเสียหาย และผู้ประกอบการเสียโอกาส
เมื่อวันที่ 3 ก.พ.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี โดยโครงการท่าเรือสีขาว ได้มีคณะทำงานได้หารือแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องและข้อกฎหมายที่ให้อำนาจในการตรวจสอบตู้คอนเทรนเนอร์สินค้าที่ตกค้างอยู่ในท่าเรือกว่า 1,000 ตู้ (ตู้รีเฟอร์/ตู้เย็น ประมาณ 300 ตู้)โดยได้เชิญตัวแทนสมาคมผู้ประกอบการขนถ่ายสินค้าในท่าเรือฯ และตัวแทนผู้ประกอบการท่าเรือ b5 เข้าชี้แจงปัญหาผลกระทบที่เกิดจากตู้ตกค้าง เช่น ไม่มีพื้นที่ในการวางตู้สินค้าซึ่งเข้ามาใหม่และต้องเสียเวลาในการขนย้ายตู้ตกค้างเพื่อเคลียร์พื้นที่ เพื่อจะจัดเรียงตู้สินค้าใหม่ที่เข้ามา ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการจราจรในท่าเรือติดขัดเป็นอย่างมาก และสมาคมผู้ประกอบการได้แจ้งว่ามียอดค่าใช้จ่ายที่เป็นตู้รีเฟอร์ตกค้างอยู่ ซึ่งต้องจ่ายค่าไฟรวมแล้วประมาณ 24 ล้านบาทต่อปี ในส่วนนี้ยังไม่รวมค่าเสียโอกาสที่จะใช้สอยพื้นที่ได้คุ้มประโยชน์จากสัญญาการเช่าใช้พื้นที่ดังกล่าว ซึ่งปัญหาที่ตู้ตกค้างเป็นเวลานานดังดล่าวนี้อยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมและขั้นตอนการทำงานของศุลกากร ซึ่งในที่ประชุมเห็นควรเชิญศุลกากรเข้ามาร่วมชี้แจงในการประชุมในครั้งต่อไปด้วย
ทั้งนี้วันนี้ได้มีการประชุมพูดถึงหัวข้อประเด็น คือเฉพาะการประชุมโครงการท่าเรือสีขาวตามนโยบายของ รมช.คมนาคม ในฐานะกำกับดูแลการท่าเรือแห่งประเทศไทย ให้มีการกำชับปรับปรุงพัฒนาเก็บกวาดสิ่งสกปรกและห้ามทำผิดกฎหมายภายในท่าเรือเด็ดขาด ทั้งจากเมื่อวานนี้ ได้มีการประชุมที่ท่าเรือแหลมฉบัง ในโครงการดังกล่าวโดยเชิญหน่วยงานเข้าร่วมทั้งตำรวจภูธร ภาค 2/กองทัพเรือ/และผู้สื่อข่าว เข้ารับฟังปัญหาและแนวทางแก้ไขตู้สินค้าตกค้างภายในท่าเรือแหลมฉบังที่ตั้งในท่าเทียบเรือเกินกว่า 45 วัน จำนวนนับร้อยตู้ สร้างความเสียหายปิดโอกาสลูกค้ารายอื่นๆ ที่จะมาใช้บริการ และบางตู้เก็บไว้หลายเดือนเกินที่กฏระเบียบของศุลกากรกำหนด แต่ทุกวันนี้ยังไม่ดำเนินการใดให้เป็นเหตุต้องสงสัยว่าเป็นสินค้าต้องห้าม หรือมีของผิดกฏหมายหรือไม่ และหน่วยงานใดบ้างที่มีอำนาจในการตรวจสอบในความผิดปกติในครั้งนี้ นอกจากนี้ในที่ประชุม ยังได้เชิญผู้เช่าบริหารแต่ละท่าเทียบเรือสินค้า มาให้ข้อมูลและให้ส่งข้อมูลตู้ตกค้างแจ้งต่อคณะกรรมการท่าเรือสีขาวภายในวันอังคารนี้ เพื่อรวบรวมและนำส่งให้ตำรวจภูธรภาค 2 แจ้งต่อศุลกากรเพื่อเข้าตรวจร่วมในตู้ที่ตกค้างเกินกว่า 45 วัน ซึ่งทั้งหมดถึงเวลาต้องกวาดล้างทำความสะอาดท่าเรือให้เป็นไปตามนโยบายของ รมช.คมนาคม และจะมีการเฝ้าติดตามการทำงานของโครงการดังกล่าวอย่างใกล้ชิดต่อไปด้วย.