Ads

Loading

เอสซีจีซี ขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อการรีไซเคิล ล่าสุดเปิดตัว นวัตกรรมสารเคลือบชั้นฟิล์มป้องกันการซึมผ่านของอากาศ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรีไซเคิลให้กับบรรจุภัณฑ์พลาสติกรับรองมาตฐานสากลรายแรกในอาเซียน

    นายธนวงษ์ อารีรัชชกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือเอสซีจีซี เผยว่า “เอสซีจีซี ขับเคลื่อนองค์กรสู่ “ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน” โดยดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG (Environmental, Social and Governance) ตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้งนี้หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญคือ การพัฒนานวัตกรรมพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยการนำพลาสติกใช้แล้วหมุนเวียนกลับมาสร้างคุณค่าใหม่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดซึ่งต้องอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า เช่น นวัตกรรมเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง  ภายใต้แบรนด์ SCGC GREEN POLYMER™ และล่าสุดที่เอสซีจีซีได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากลจากรีไซคลาส คือ นวัตกรรมสารเคลือบชั้นฟิล์มป้องกันการซึมผ่านของอากาศ ทำให้ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อนที่จำเป็นต้องใช้วัสดุหลายชนิดในการขึ้นรูปซึ่งรีไซเคิลได้ค่อนข้างยาก สามารถมีทางเลือกใหม่เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน นั่นคือ สามารถนำสารเคลือบชั้นฟิล์มฯ จากเอสซีจีซี ทดแทนวัสดุชั้นอื่นที่ทำหน้าที่ป้องกันการผ่านของอากาศ ทำให้บรรจุภัณฑ์นั้นผลิตจากพลาสติกประเภทเดียวกันทั้งหมด ช่วยให้การรีไซเคิลหลังการใช้งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันยังคงคุณสมบัติด้านอื่น ๆ ได้ดีเช่นเดิม ทั้งนี้ เอสซีจีซีพร้อมที่จะร่วมมือกับผู้ประกอบการ และเจ้าของแบรนด์ที่สนใจพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยเพิ่มการรีไซเคิล และร่วมสร้างสรรค์โลกที่ยั่งยืนไปด้วยกัน

   ทั้งนี้ เอสซีจีซี มุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แบรนด์ เอสซีจีซี กรีน พอลิเมอร์ ประกอบด้วยโซลูชันพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ (1) ลดการใช้ทรัพยากรและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด (2) โซลูชันเพื่อเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากฟิล์มที่ประกอบด้วยชั้นของวัสดุหลายประเภท ให้กลายเป็นบรรจุภัณฑ์จากพลาสติก PE หรือ PP เพียงชนิดเดียวเพื่อให้สามารถนำไปรีไซเคิลได้อย่างมีประสิทธิภาพ (3) โซลูชันเพื่อนำพลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือนมารีไซเคิลช่วยลดปริมาณขยะและลดการใช้ทรัพยากร และ (4) โซลูชันเพื่อให้เกิดพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และพลาสติกจากทรัพยากรหมุนเวียน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม…000

ธนัญธร รวงผึ้ง

TT Ads

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *